- เขียนโดย Pailin Rittidech
ประวัติความเป็นมาของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เดิมชื่อ สำนักส่งเสริมวิชาการ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2525 มีผู้อำนวยการสำนัก ฯ ดังนี้ คือ อาจารย์ชูศรี หลักเพชร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุเทพ ลิ่มอรุณ, อาจารย์บุญเลิศ กลิ่นรัตน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์หรรษา ผลาทร, อาจารย์เสนาะ กลิ่นงาม , ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุบล สมทรง และเปลี่ยนชื่อสำนักฯ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 กำหนด เป็น สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน พร้อมทั้งเริ่มมีระบบการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้ง ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริม ฯ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุ่น ศรีสวัสดิ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวัฒน์ เตชะเพชรไพบูลย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์รพีพรรณ เทียมเดช, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณี คอนจอหอ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชิต สุดตา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนศิริ ทิพย์เนตร คนปัจจุบัน
โครงสร้างสำนักส่งเสริมวิชาการฯ เดิม แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ 1.ฝ่ายเลขานุการ 2.ฝ่ายทะเบียนและวัดผล และ 3.ฝ่ายหลักสูตรและแผนการเรียน ต่อมาในปี พ.ศ.2542 อาจารย์เสนาะ กลิ่นงาม ผู้อำนวยการสำนักในขณะนั้น ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร เป็น 5 ฝ่าย ได้แก่ 1.ฝ่ายเลขานุการ 2.ฝ่ายหลักสูตรภาคปกติ 3.ฝ่ายหลักสูตรภาค กศ.บป. 4.ฝ่ายสถิติข้อมูล และ 5.ฝ่ายทะเบียนและประมวลผล ต่อมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุบล สมทรง ปรับโครงสร้าง เป็น 5 ฝ่าย ได้แก่ 1.ฝ่ายเลขานุการ 2.ฝ่ายหลักสูตรและแผนการเรียน 3.ฝ่ายทะเบียนและประมวลผล 4.ฝ่ายสถิติและข้อมูลสารสนเทศ และ 5.ฝ่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผล ต่อมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุวัฒน์ เตชะเพชรไพบูลย์ ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ เป็น 4 งาน ได้แก่ 1.งานบริหารทั่วไป 2.งานวิชาการและการประมวลผล 3.งานประสานการจัดบัณฑิตศึกษา 4.งานมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ต่อมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณี คอนจอหอ ได้จัดโครงสร้างองค์ใหม่ เป็น 5 งานในปัจจุบัน คือ 1. งานบริหารทั่วไป 2. งานทะเบียนและประมวลผล 3. งานส่งเสริมวิชาการ 4. งานบัณฑิตศึกษา และ งานมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชิต สุดตา ได้จัดโครงสร้างองค์ เป็น 4 งานในปัจจุบัน คือ 1.งานบริหารทั่วไป 2.งานทะเบียนและประมวลผล 3.งานส่งเสริมวิชาการ และ 4.งานบัณฑิตศึกษา โดยจัดให้มีการบริหารงานตาม โครงสร้างการบริหารงานสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน และได้ดำเนินการย้ายงานมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาไปสังกัดสำนักงานอธิการบดี
การจัดการศึกษาในปัจจุบัน
เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี จำนวน 48 สาขาวิชา ปริญญาตรีหลักสูตร 5 ปี จำนวน 1 สาขาวิชา จาก 8 คณะ และ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำนวน 1 สาขาวิชา เปิดสอนระดับปริญญาโท 7 สาขาวิชา และเปิดสอนระดับปริญญาเอก 1 สาขาวิชา รวมเปิดสอนทั้งหมด 58 สาขาวิชา